เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

แอตทริบิวต์ (Attributes)

เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นตัวที่ใช้บอกถึงคุณสมบัติ คุณลักษณะ และพฤติกรรมของออบเจ็กต์ กล่าวคือ ออบเจ็กต์แต่ละตัวจะมีแอตทริบิวต์ที่แตกต่างกัน แต่ออบเจ็กต์ที่อยู่ในคลาสเดียวกันจะมีแอตทริบิวต์เหมือนกัน เช่น ออบเจ็กต์ในคลาส Users จะมีแอตทริบิวต์ FirstName, LastName, Logon Name, Password, E-mail, Telephone แต่ออบเจ็กต์ของยูสเซอร์แอคเคานต์จะมีแวลู (Value) หรือค่าของแอตทริบิวต์ที่ต่างกัน เช่น ออบเจ็กต์หนึ่งมีค่าแอตทริบิวต์ Logon Name เป็น bandhit จะเป็นการบอกให้ทราบว่าออบเจ็กต์นี้เป็น ตัวแทนของยูสเซอร์ bandhit jamornputi ซึ่งจะมีค่าแอตทริบิวต์ Logon Name ไม่ซ้ำกับออบเจ็กต์ตัวอื่นๆ

สำหรับออบเจ็กต์ในคลาส Computer จะมีแอตทริบิวต์ Member of เป็นของกรุ๊ปยูสเซอร์ใด ส่วนออบเจ็กต์ในคลาส Printer ก็จะมีแอตทริบิวต์เกี่ยวกับการพิมพ์ เช่น พิมพ์สีได้ พิมพ์ได้ทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง ฯลฯ

OU (Organization Unit)

เป็นเสมือนดังคอนเทนเนอร์ (Container) ในการเก็บออบเจ็กต์ต่างๆ เอาไว้ ภายใน OU จะมีโครงสร้างเป็นลำดับขั้น (Hierarchy) ทำให้สามารถสร้าง OU ย่อยลงไปได้อีก เช่น OU ชื่อ Bangkok จะมี OU ย่อยชื่อ HRMs และ Sale สำหรับจัดการออบเจ็กต์แอคเคานต์และทรัพยากรในฝ่ายบุคคลและแผนกขายตามลำดับ OU จึงเป็นกลุ่มงานที่บรรจุออบเจ็กต์ ยูสเซอร์ กรุ๊ป คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ แชร์โฟลเดอร์ และอื่นๆ เอาไว้

OU ยังช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานได้อีกด้วย เช่น ถ้าต้องการกำหนดนโยบายต่างๆ (Security Policy, Password Policy, Account Policy) ให้กับออบเจ็กต์แบบยูสเซอร์ คอมพิวเตอร์ก็ให้กำหนดนโยบายนั้นผ่าน OU ที่ออบเจ็กต์เหล่านั้นอยู่ภายในเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกำหนดทีละตัว นอกจากนี้ OU ยังมีความสามารถในการทำ Delegate Administrative Control เพื่อแบ่งอำนาจการบริหาร จัดการทรัพยากรไปยังระดับล่าง กล่าวคือ ผู้ดูแลระบบของโดเมน (Domain Admin) สามารถจะมอบอำนาจ หรือกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรให้กับผู้ดูแลระดับย่อยลงมา เช่น ระดับแผนก ให้สามารถจัดการทรัพยากรและออบเจ็กต์ต่างๆ ได้เต็มที่ และยังเป็นการแบ่งเบาภาระอีกด้วย

โดเมน (Domain)

เป็นที่รวมของทรัพยากรบนระบบเอาไว้ทั้งหมด เช่น ยูสเซอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ เครื่องพิมพ์ แชร์โฟลเดอร์ และออบเจ็กต์อื่นๆ ไว้ด้วยกันภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน โดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบผู้ใช้งาน (Au – thentication) และควบคุมเรื่องของการเข้าถึง (Access) ทรัพยากร เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

การแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์ กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

ถึงเวลาเรียกคืนไฟล์ข้อมูล และวินโดวส์กลับมาใหม่

การแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล แม้ว่าคุณจะซ่อมบำรุงดูแลรักษาคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกเดือนแล้วก็ตาม แต่ถ้าหากเหตุการณ์ หรือปัญหาที่ไม่คาดคิด อย่างเช่น อยู่ดีๆ คอมพิวเตอร์มีปัญหา ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ยกตัวอย่างเช่น

– ฮาร์ดดิสก์พัง การแก้ปัญหาให้ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ และล้างเครื่อง ติดตั้งวินโดวส์ และลงโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

– คอมพิวเตอร์ติดมัลแวร์ ไวรัส และภัยคุกคามอื่นๆ การแก้ปัญหาให้สแกน หรือตรวจเช็ก และกำจัดไวรัส ถ้าหากแก้ปัญหาไม่ได้ให้แบ็คอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญ จากนั้นล้างเครื่อง ติดตั้งวินโดวส์ และลงโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

– ไฟล์วินโดวส์เสียหาย บูตเครื่องเข้าวินโดวส์ไม่ได้ การแก้ปัญหาให้สแกน หรือตรวจเช็ก และซ่อมแซมไฟล์วินโดวส์ แต่ถ้าหากแก้ปัญหาไม่ได้ ให้ทำการแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญ จากนั้นล้างเครื่อง ติดตั้งวินโดวส์ และลงโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

นี้คือตัวอย่างของปัญหา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ แต่จะสังเกตเห็นได้ว่าถ้าหากแก้ปัญหาตามสาเหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้ วิธีสุดท้ายในการแก้ปัญหาคือ การล้างเครื่อง ติดตั้งวินโดวส์ และลงโปรแกรมใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามหากคุณทำแผน Data backup and recovery ก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องล้างเครื่อง ติดตั้งวินโดวส์ และลงโปรแกรมใหม่ทั้งหมด เพียงแค่คุณเรียกคืนวินโดวส์ และไฟล์ข้อมูล (Windows and data restore) จากไฟล์อิมเมจ (Image File) คุณก็ได้วินโดวส์ตัวโปรด และไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ ต่างๆ ของคุณกลับคืนมา

การดึงไฟล์ข้อมูล ก่อนเรียกคืนวินโดวส์

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือปัญหาที่ไม่คาดคิด วินโดวส์พัง หรือ บูตเครื่องเข้าวินโดวส์ไม่ได้ และไฟล์ข้อมูลบางไฟล์ยังไม่ได้แบ็คอัพ แล้วเราควรจะทำอย่างไรดีเมื่อเราเข้าใช้งานวินโดวส์ไม่ได้ เพราะบางคนเข้าใจว่าไฟล์ข้อมูลจะสูญหายไปด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์ข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ยังไม่สูญหายไปไหน แต่เพียงแค่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เท่านั้นที่เกิดความเสียหาย ซึ่งคุณสามารถดึง หรือแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลเหล่านี้กลับมาได้เหมือนเดิม การแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

นอกเสียจากว่าฮาร์ดดิสก์พัง ซึ่งก็มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญหายของไฟล์ข้อมูล

ดังนั้นถ้าหากคอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหาข้างต้น คุณไม่ต้องกังวลใจ เพราะไฟล์ข้อมูลไม่ได้สูญหายไปไหนอย่างแน่นอน จากนั้นสิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ดึง หรือแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลล่าสุด และทำการเรียกคืนวินโดวส์ (Windows Restore) สำหรับขั้นตอนก็จะมีรายละเอียดดังนี้

  1. เชื่อมต่ออุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก หรือฮาร์ดดิสก์แบบพกพาสำหรับเก็บไฟล์ข้อมูลเข้ากับคอมพิวเตอร์
  2. บูตเครื่องด้วย Hiren’s Boot USB เมื่อปรากฏหน้าเมนู Hiren’s BootCD 10.5 ขึ้นมา ให้เลือกเมนู Mini Windows XP จากนั้นกดปุ่ม Enter
  3. เมื่อโหลดหน้า Mini Windows XP เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลล่าสุดของคุณ จากนั้นเรียกคืนวินโดวส์ให้เรียบร้อย
ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สำหรับปัญหาคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง และวินโดวส์พังนั้นมีหลายปัญหายกตัวอย่างเช่น ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ในโหมด Normal และ Safe Mode ได้,ฮาร์ดดิสก์มีปัญหา, คอมพิวเตอร์ติดมัลแวร์ ไวรัส หรือภัยคุกคามอื่นๆ,

คอมพิวเตอร์แสดงหน้าจอบลูสกรีน (Blue Screen) และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งปัญหาหรืออาการที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์เหล่านี้ มักเป็นสาเหตุให้คุณต้องล้างเครื่องใหม่คำถามคือ เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น คุณจำเป็นต้องล้างเครื่องใหม่ทุกครั้งหรือไม่

ซึ่งคำตองคือคงไม่ใช่ เพราะคงไม่มีใครที่อยากจะแก้ปัญหาด้วยวิธีทุกครั้งไป

เนื่องจากวิธีนี้ทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก และเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วยซึ่งขั้นตอนในการล้างเครื่องนั้นมีรายละเอียด ดังนี้

1. แบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์
2. ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์
3. ติดตั้งวินโดวส์ ติดตั้งไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์
4. อัพเดตเซอร์วิสแพ็ค และแพทช์ล่าสุดของวินโดวส์ปรับแต่งการใช้งานวินโดวส์
5. ลงโปรแกรมป้องกันไวรัส หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นๆอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสล่าสุดของโปรแกรมป้องกันไวรัสนี่คือสิ่งที่คุณต้องทำตอนล้างเครื่องและลงเครื่องใหม่แล้วคุณคิดว่าตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายต้องใช้เวลานานแค่ไหนซึ่งรับรองได้ว่าคุณคงหมดกาแฟไปหลายแก้ว

ดังนั้นถ้าหากคุณไม่อยากล้างเครื่องใหม่เมื่อมีปัญหาข้างต้นคุณก็ควรรู้จักทำแผนแบ็คอัพ และกู้คืนข้อมูล (Data Backup and Recovery)ไว้ใช้ในเวลาฉุกเฉิน

การแบ็คอัพ และกู้คืนข้อมูลคืออะไร และทำไมต้องทำการแบ็คอัพ และกู้คืนข้อมูล คือ การสำรองข้อมูลหรือสำเนาข้อมูลต้นฉบับจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่มีความปลอดภัย

โดยอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและสามารถนำกลับมาใช้งานในรูปแบบเดิมได้อย่างง่ายดายทำไมต้องแบ็คอัพข้อมูล และกู้คืนข้อมูลการรู้จักทำแผน Data Backup and Recovery หรือการแบ็คอัพ และกู้คืนข้อมูลซึ่งอยู่ในแผนของ Disaster Recovery Plan ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากเพราะเมื่อไรที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือปัญหาขึ้น

คุณก็สามารถรับมือกับปัญหานั้นได้อย่างทันท่วงที สำหรับประโยชน์ของการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลก็มีดังนี้

1. เรียกคืนระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว
2. ไม่ต้องล้างเครื่อง ติดตั้งวินโดวส์ ลงไดรเวอร์ และโปรแกรมต่างๆ ใหม่
3. ป้องกันไฟล์ข้อมูลสูญหาย
4. ไม่เสียเวลา และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
5. ไม่เสียสุขภาพจิต