เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

แอตทริบิวต์ (Attributes)

เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นตัวที่ใช้บอกถึงคุณสมบัติ คุณลักษณะ และพฤติกรรมของออบเจ็กต์ กล่าวคือ ออบเจ็กต์แต่ละตัวจะมีแอตทริบิวต์ที่แตกต่างกัน แต่ออบเจ็กต์ที่อยู่ในคลาสเดียวกันจะมีแอตทริบิวต์เหมือนกัน เช่น ออบเจ็กต์ในคลาส Users จะมีแอตทริบิวต์ FirstName, LastName, Logon Name, Password, E-mail, Telephone แต่ออบเจ็กต์ของยูสเซอร์แอคเคานต์จะมีแวลู (Value) หรือค่าของแอตทริบิวต์ที่ต่างกัน เช่น ออบเจ็กต์หนึ่งมีค่าแอตทริบิวต์ Logon Name เป็น bandhit จะเป็นการบอกให้ทราบว่าออบเจ็กต์นี้เป็น ตัวแทนของยูสเซอร์ bandhit jamornputi ซึ่งจะมีค่าแอตทริบิวต์ Logon Name ไม่ซ้ำกับออบเจ็กต์ตัวอื่นๆ

สำหรับออบเจ็กต์ในคลาส Computer จะมีแอตทริบิวต์ Member of เป็นของกรุ๊ปยูสเซอร์ใด ส่วนออบเจ็กต์ในคลาส Printer ก็จะมีแอตทริบิวต์เกี่ยวกับการพิมพ์ เช่น พิมพ์สีได้ พิมพ์ได้ทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง ฯลฯ

OU (Organization Unit)

เป็นเสมือนดังคอนเทนเนอร์ (Container) ในการเก็บออบเจ็กต์ต่างๆ เอาไว้ ภายใน OU จะมีโครงสร้างเป็นลำดับขั้น (Hierarchy) ทำให้สามารถสร้าง OU ย่อยลงไปได้อีก เช่น OU ชื่อ Bangkok จะมี OU ย่อยชื่อ HRMs และ Sale สำหรับจัดการออบเจ็กต์แอคเคานต์และทรัพยากรในฝ่ายบุคคลและแผนกขายตามลำดับ OU จึงเป็นกลุ่มงานที่บรรจุออบเจ็กต์ ยูสเซอร์ กรุ๊ป คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ แชร์โฟลเดอร์ และอื่นๆ เอาไว้

OU ยังช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานได้อีกด้วย เช่น ถ้าต้องการกำหนดนโยบายต่างๆ (Security Policy, Password Policy, Account Policy) ให้กับออบเจ็กต์แบบยูสเซอร์ คอมพิวเตอร์ก็ให้กำหนดนโยบายนั้นผ่าน OU ที่ออบเจ็กต์เหล่านั้นอยู่ภายในเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกำหนดทีละตัว นอกจากนี้ OU ยังมีความสามารถในการทำ Delegate Administrative Control เพื่อแบ่งอำนาจการบริหาร จัดการทรัพยากรไปยังระดับล่าง กล่าวคือ ผู้ดูแลระบบของโดเมน (Domain Admin) สามารถจะมอบอำนาจ หรือกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรให้กับผู้ดูแลระดับย่อยลงมา เช่น ระดับแผนก ให้สามารถจัดการทรัพยากรและออบเจ็กต์ต่างๆ ได้เต็มที่ และยังเป็นการแบ่งเบาภาระอีกด้วย

โดเมน (Domain)

เป็นที่รวมของทรัพยากรบนระบบเอาไว้ทั้งหมด เช่น ยูสเซอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ เครื่องพิมพ์ แชร์โฟลเดอร์ และออบเจ็กต์อื่นๆ ไว้ด้วยกันภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน โดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบผู้ใช้งาน (Au – thentication) และควบคุมเรื่องของการเข้าถึง (Access) ทรัพยากร เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์